ประวัติของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล... ประวัติศาสตร์หน้าแรกของ สโมสร ลิเวอร์พูล ต้องบันทึกว่า ก่อเกิดจาก เอฟเวอร์ตัน สโมสรคู่ปรับประจำเมืองตลอดกาล โดยเกิดจากการแตกแยกกันของผู้บริหารนั่นเอง แต่เราจะย้อนถึงอดีต ก่อนที่จะถึงการกำเนิดของ Everton FC. เสียด้วยเมื่อเทศมนตรีเมืองได้มีมติอนุมัติ สร้างโบสถ์หลังใหม่ และโรงเรียนวันอาทิตย์ แทนโบสถ์เก่า 3 หลัง ของเมืองทีมีสภาพที่ทรุดโทรม และก็ได้ข้อสรุป คือ สร้างที่ ถนน.เบร็ดฟิลด์ นอร์ธ เขต Everton ในเดือน พฤษภาคม 1870 โดยมีขื่อว่า เซนต์ โดมิงโก ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ของชาวคริสต์ ในเมืองลิเวอร์พูล โดยเฉพาะวันอาทิตย์โบสถ์แห่งนี้ เป็นแหล่งชุมชนของ ชนชั้นกลางและกรรมกร และต่างก็มีกิจกรรมร่วมกัน คือ กีฬา นั้นเองและก็ทำให้ชื่อเสียงของ โบสถ์ เซนต์ โดมิงโก เป็นที่แพร่หลาย เริ่มจากทีม คริกเก็ต ของ นักเรียนโรงเรียน เซนต์ โดมิงโก ซึ่งสามารถชนะทุกทีมที่แข่ง เป็นจุดเริ่มของการรวมพลเชียร์ แต่ทว่า คริกเก็ต เป็นกีฬาช่วง หน้าร้อนเท่านั้น แต่ยังคงมีกีฬา เบสบอล ที่จะว่าเป็นที่นิยมมากในขณะนั้นเด็กๆ ได้ร้องขอคณะสงฆ์ ขอจัดตั้งทีมฟุตบอล (สมัยก่อนไม่มีใครนิยมเล่นกีฬาชนิดนี้ ) แต่เป็นกีฬา รักบี้ ที่เป็นที่นิยมกันมาก แต่คณะสงฆ์ก็ได้อนุมัติให้จัดตั้งทีม ฟุตบอล โดยใช้ชื่อว่า สโมสร เซนต์ โดมิงโก ในปี 1878 ในยุคนี้ 1878 - 1886 มีสโมสรฟุตบอลเกิดขึ้นมากกว่า 150 สโมสร และ สโมสร เซนต์ โดมิงโก ได้สร้างความประทับใจให้กับ แฟนบอลเมือง ลิเวอร์พูล และสโมสรแห่งนี้ก้ได้กลายมาเป็น Everton FC. ในเวลาต่อมาจากการบันทึกพบว่า เอฟเวอร์ตัน ลงแข่งฟุตบอลอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกพบกับ เซนต์ ปีเตอร์ส เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 1879 และก็คว้าชัยได้ด้วย ต่อมาปี 1880 เอฟเวอร์ตัน เข้าร่วมฟุตบอล ลีก ของสมาคม แลงคาเชียร์ ซึ่งต้องพบกันทีมต่างๆเช่น โบลตัน หรือ เบอร์เคนเฮด แต่สนามเหย้าของ เอฟเวอร์ตัน ขณะนั้นก็คือ สวนสาธารณะ Stanley Park ต่อมาสมาคมฟุตบอล แลงคาเชียร์ ออกกฏว่า ทุกทีมต้องมีสนามเหย้า เป็นของตัวเอง ทำให้ Everton ต้องประชุมด่วนที่ โรงแรม แซนดอน ซึ่งโรงแรมนี้เป็นของ จอหน์ โฮลดิ้ง JOHN HOULDING นายกเทศมนตรีเมือง ลิเวอร์พูลนักการเมืองพรรคอนุรักษ์นิยม เป็นผู้ก่อตั้งสโมสร" LIVERPOOL FC. " และ " EVERTON FC. " โฮลดิ้ง เป็นผู้คลั่งไคล้ในกีฬาลูกหนังเป็นอย่างมาก เขายังมีตำแหน่งเป็น นายกเทศมนตรี เมือง ลิเวอร์พูล พรรคอนุรักษ์นิยม และเขาก็สามารถผลักดันให้ใช้ ที่ว่าง ถนนเพอรี่ย์ สร้างสนามฟุตบอล โดยมีการจ่ายค่าเช่าตอบแทน จากนั้นไม่นาน เจ้าของที่ก็ต้องการที่ดินคืน ทำให้ จอหน์ ต้องติดต่อกับ จอหน์ โอร์เรล ให้กับ เอฟเวอร์ตัน เช่าที่ราคาถูก และในวันที่ 28 กันยายน 1884 เอฟเวอร์ตัน ได้แข่งนัดแรกที่ Anfield โดยชนะ เอิร์ลสทาวน์ ด้วยสกอร์ 5 - 1 นานวันเข้า เอฟเวอร์ตัน ก็เป็นทีมประจำเมือง ลิเวอร์พูล โดยปริยาย จอหน์ โฮลดิ้ง ได้สร้างอัฒจรรย์เพิ่ม แฟนบอลต่างเข้ามาชมกันมากขึ้น กว่า 8,000 คน จนกระทั่งในปี 1888 ได้จัดให้มีสมาคมฟุตบอลอังกฤษ( F.A.) และระบบนักเตะอาชีพก็เกิดขึ้น ในปี 1885 โดยช่วงแรกนักเตะจะได้รับค่าจ้าง 3 ปอนด์/สัปดาห์ และก็มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอีกก็คือ บรรดากรรมกรในเมืองลิเวอร์พูล ได้เรียกร้อง ให้มีการหยุดเพิ่มขึ้นจากเดิม วันอาทิตย์ 1 วัน ขอหยุดเพิ่มในช่วงบ่ายของวันเสาร์ (ในสมัยก่อน ลิเวอร์พูล เป็นเมืองท่าสำคัญ และอุตสาหกรรมการต่อเรือ ของอังกฤษ มีกรรมกรทำงานที่นี่เยอะมากๆ )สโมสร Everton ที่รุ่งเรือง ก็มีจุดเปลี่ยนจนได้เมื่อ จอหน์ โอร์เรล เจ้าของที่เพื่อนซื้ของ โฮลดิ้ง ได้ยกเลิกที่จะให้เช่าสนาม Anfield หลังจากที่เป็นของ Everton กว่า 7 ปี แต่ โฮลดิ้งก็พยายามที่จะขอซื้อ แต่ โอร์เรล ก็โก่งราคาสูงมากๆ โดย จอหน์ โฮลดิ้ง ต้องการ Anfield แห่งนี้เป็นของ Everton แต่สมาชิก 279 คนไม่ยอม และก็เกิด จุดแตกหักกันได้ก็คือ 15 มีนาคม 1892 เอฟเวอร์ตัน ได้ย้ายไปที่สนามใหม่ก็คือ กูดิสันปาร์ค และปล่อยให้ Anfield ล้างมีแต่สนามเปล่าๆ กับ อัฒจรรย์โล้นๆ และจอหน์ โฮลดิ้ง กับ จอหน์ โอร์เรล (เจ้าของที่ว่างเปล่า) ดูเหมือนว่า เอฟเวอร์ตัน จะไปได้สวยกับสนามแห่งใหม่ ขณะที่ Anfield ไม่มีอะไรที่ดีขึ้นเลย แต่ทว่า โฮลดิ้ง ไม่ยอมแพ้ เขาสร้างทีมฟุตบอลใหม่และก็ได้ตั้งชื่อสโมสรว่า LIVERPOOL FC. ตามชื่อเมืองนั่นเองในปี 1892 LIVERPOOL FC. ก็อยู่ที่สนาม Anfield และถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1892 นี้เอง (EST.1892) และจอหน์ โฮลดิ้ง ก็ได้พยายามขอจัดตั้งสโมสรฟุตบอล โดยขอสมัครเป็นสมาชิกกับ สมาคมฟุตบอล แต่เขาก็รู้ว่าต้องไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะยังเป็นสโมสรใหม่อยู่ แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้ เขาได้พบกับ จอหน์ แม็คแคนน่า ผู้รู้ใจเพื่อนสนิทชาว ไอริช ซึ่ง แม็คแคนน่า เป็นคนที่คลั่งไคล้ฟุตบอลมาก และเขาเคยเป็นอดีตนักรักบี้เก่าด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ดีครับ อยากแนะนำให้เว้นวรรค กับจัดย่อหน้าหน่อย จะได้อ่านง่ายๆ
แสดงความคิดเห็น