เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ
1. ต้องไม่ตั้งใจให้ลูกเป็นอัจฉริยะ
2. ต้องดูว่าลูกทำอะไรได้ดีที่สุดพ่อแม่ต้องรีบสนับสนุนทันที
3. อย่าบังคับขู่เข็ญว่าลูกต้องเป็นตามที่พ่อแม่ต้องการ
4. ให้ลูกได้มีโอกาสเจอกับคนอื่น โดยเฉพาะคนเก่งๆ เพื่อให้ช่วยกระตุ้นศักยภาพออกมา
5. พ่อแม่ต้องทุ่มเวลาและความเข้าใจในการเลี้ยงดู เพราะอัจฉริยภาพนั้นเริ่มจากความรัก ให้ลูกทำในสิ่งที่รักแล้วจะเป็นอัจฉริยะได้อย่างมีความสุข
6. พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกทำงานทุกชิ้นให้สำเร็จ ฝึกให้เป็นคนทำงานหนัก เพราะในโลกนี้ไม่มีอัจฉริยะคนใดขี้เกียจเลย และ
7. พ่อแม่ที่ให้ลูกเรียนเก่งอย่างเดียว ท้ายที่สุดจะพบความล้มเหลวในการทำงานในอนาคต จึงอยากให้พ่อแม่ฝึกให้ลูกรับผิดชอบกับตนเองรอบด้าน ไม่ใช่เรื่องเรียนอย่างเดียวเด็กทุกคนเกิดมามีศักยภาพในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเรียนรู้และศักยภาพภายในที่ซ่อนอยู่ในแต่ละเรื่อง และเด็ก 1 ในหมื่นคนของแต่ละสาขาต้องเป็นอัจฉริยบุคคลได้ ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องสอนจากสิ่งที่เขาเก่ง ค้นพบจุดเด่นว่าเด็กเก่งจริง ส่วนโรงเรียนต้องมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้องกับศักยภาพของเขาให้มากที่สุด\" เป็นคำพูดของ ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้กล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการด้านเด็กอัจริยะที่มีชื่อคนหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นประธานศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว ศูนย์แห่งนี้ จะทำการวัดแววความสามารถของเด็ก เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมความรู้ความสามารถของเด็กได้ตามศักยภาพที่แท้จริง
ความสามารถของมนุษย์นั้น ผศ.ดร.อุษณีย์ บอกว่าจัดได้ 10 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษา กลุ่มคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหว ดนตรี ศิลปะ สังคม อารมณ์ การช่างและอิเล็กทรอนิกส์ และญาณปัญญา โดยทั่วไปเด็กอัจฉริยะนั้นจะต้องแสดงความโดดเด่นออกมาอย่างน้อย 1 ด้าน ซึ่งบางคนอาจจะมีความโดดเด่นเพียงด้านเดียวหรือหลายด้านก็ได้
การวัดแววความสามารถของเด็กนั้น จะนำไปสู่การส่งเสริมการเรียนการสอนตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน เพราะหากลูกมีแววอีกด้านหนึ่ง แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเป็นอีกอย่างหนึ่ง จะเป็นการทำร้ายลูกไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้วิธีการวัดแววความสามารถเด็กก็ไม่ได้ยุ่งยาก แค่เพียง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง พาเด็กมาที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก เจ้าหน้าที่จะให้เด็กเล่นตามความสนใจในมุมต่างๆ เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ มุมสังคมศึกษา มุมภาษา มุมดนตรี มุมอารมณ์และสังคม ฯลฯ โดยทุกมุมได้ออกแบบสื่อและกิจกรรมที่ใช้ทฤษฎีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการพัฒนาความคิดระดับสูง ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมและความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายในให้ออกมาปรากฏอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่มีการสอบที่ถือเป็นการรีดเค้นทักษะศักยภาพ และไม่ใช่ความสามารถที่แท้จริง
แต่ละมุมจะมีเกม จิ๊กซอว์ ของเล่น เช่น กล้องจุลทรรศน์ โน้ตบุ๊ค สัตว์ ผลไม้ รวมถึงภาพโปสเตอร์ แผนที่ หนังสือที่มีภาพประกอบ ฯลฯ เพื่อสังเกตถึงแววความถนัดและภาวะอารมณ์และสังคมของเด็ก รวมถึงข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปกครองเพื่อทดสอบระดับสติปัญญา (ไอคิว) ที่สำคัญศูนย์ดังกล่าวไม่ได้เน้นตรวจสอบไอคิวอย่างเดียว แต่เน้นตรวจสอบเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ และสิ่งที่เด็กแสดงออกในศูนย์ เด็กแต่ละคน จะเข้ามาทำกิจกรรมในศูนย์ประมาณ 12 ครั้ง ตามความสะดวกของผู้ปกครอง
ซึ่งศูนย์จะมีชุดแบบสำรวจแววอัจฉริยะจำนวน 3 เล่ม ได้แก่ 1. รู้จักและเข้าใจอัจฉริยะจิ๋ว 2. สำรวจแววลูกน้อย และ 3. แบบสำรวจแววอัจฉริยะ พร้อมซีดี และเอกสารวัดแววความสามารถเด็กทั้ง 9 แวว ให้ด้วย
เมื่อทำกิจกรรมครบ 12 ครั้ง จะมีคณะกรรมการ ประกอบด้วย แพทย์ นักจิตวิทยา นักการศึกษาพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และนักวิชาการประจำศูนย์ รวมทั้งนักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันประเมินผลความถนัดและภาวะอารมณ์ สังคม ความคิด ความถนัดพิเศษและจิตใจของเด็ก หากพบผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ จะบอกให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจะได้ส่งเสริมให้ถูกทางต่อไป และให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความถนัดของเด็ก รวมถึงการพัฒนาทางอารมณ์ สังคมและจิตใจในกรณีของเด็กปกติด้วย
โดยจะมีการเชิญผู้ปกครองมาพูดคุยเพื่อแนะนำการพัฒนาลูกเป็นรายๆ ไป ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะว่าผู้ปกครองอาจจะไม่เข้าใจลูก บางคนมีความคาดหวังกับลูกสูง บางคนเลี้ยงดูลูกมาผิดๆ การเปลี่ยนความคิด วิธีการต่างๆ จึงเป็นเรื่องยาก เราต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบจิตใจของผู้ปกครอง แต่ในขณะเดียวกันต้องหาทางให้พ่อแม่พัฒนาลูกให้ถูกทางด้วย
\"เวลาที่เด็กแต่ละคนทำกิจกรรม ในศูนย์จะเล่นโดยอิสระ โดยมีผู้ปกครองรอด้านนอก และมีแบบสอบถามให้ผู้ปกครองกรอกด้วย โดยขอความร่วมมือว่าต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และจะรับเด็กไม่มาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานอย่างละเอียด โดยหนึ่งคนต้องดูแลเด็กประมาณ 5 คน ถ้ามากกว่านี้อาจจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดได้\" ผศ.อุษณีย์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น